ดนตรีกับวัฒนธรรม

1. พระราชพิธีในส่วนของพระมหากษัตริย์
พระราชพิธีส่วนของพระมหากษัตริย์ การใช้ดนตรีบรรเลงประกอบในพระราชพิธีมีแบบ
แผนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เริ่มตั้งแต่เมื่อแรกประสูติ ตามประเพณี จะมีวงดนตรีคอย
ประโคมให้รู้ว่าประสูติแล้ว และในบางกรณียังมีเพลงเป็นเครื่องแสดงด้วยว่าประสูติเป็นพระราชโอรส หรือ
พระราชธิดา ต่อจากนั้นไม่ว่าจะเห่กล่อมพระบรรทม ขึ้นพระอู่ การสมโภชเดือน พระราชพิธีโสกันต์ เมื่อ
ผนวชเป็นสามเณร ผนวชเป็นพระภิกษุ พระราชพิธีวิวาหมงคล งานพระเมรุ ก็ล้วนใช้ดนตรีบรรเลง
ประกอบด้วย
2. กิจกรรมในส่วนของประชาชน
พิธีของประชาชนบางพิธีอาจจะเลิกไปแล้ว หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป แต่ในชุมชนตาม
ชนบทบางแห่งก็ยังคงนำดนตรีเข้าไปบรรเลงประกอบอยู่ เหมือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเหมือน
ในอดีต ผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีไทยในอดีตได้จัดระเบียบแบบแผนการบรรเลงดนตรีไทยไว้อย่างชัดเจน และ
ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจะแบ่งโอกาสการบรรเลงดนตรีไทยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ
ประชาชนชาวไทยทั่ว ๆ ไปออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
2.1 งานมงคล
งานมงคล ได้แก่
2.1.1 งานทำบุญคล้ายวันเกิด ลักษณะของวงดนตรีและเพลงที่ใช้จะคล้ายกับงาน
มงคลสมรส คือ ชื่อเพลงที่ใช้บรรเลงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ
2.1.2 งานบวช จะใช้วงดนตรีประเภทวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ในกรณีที่มีการสวดมนต์
เย็น ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็นเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านได้ทราบว่าสถานที่นั้นกำลังมีงานอัน
เป็นมงคล และเป็นการอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาประชุม ร่วมกันในบริเวณงานเพื่อ
ความเป็นศิริมงคลแก่เจ้าภาพ อีกทั้งชื่อเพลงต่าง ๆ ที่อยู่ชุดโหมโรงเย็น ก็มีความหมายทั้งสิ้น เช่น เพลง
สาธุการ หมายถึงการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เป็นต้น เมื่อจบเพลงโหมโรงเย็นแล้ว ในระหว่างรอ
พระสงฆ์มาทำพิธี ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงช้า ๆ เช่น
เพลงเหาะ เพลงโล้ เพลงพระเถาลอยถาด เพลงเรื่องต่าง ๆ จนกระทั้งพระสงฆ์มาถึงสถานที่ประกอบพิธี ปี่
พาทย์จะบรรเลงรับโดยใช้เพลงเร็วหรือเพลงเหาะ เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์เสร็จดนตรีจะบรรเลงเพลงกราวใน
เมื่อพระสงฆ์ลุกจากอาสนะ ดนตรีจะบรรเลงเพลงสำหรับส่ง คือ เพลงเร็ว หรือเพลงเชิด เป็นอันเสร็จพิธี
ต่อจากนั้นจะเป็นเรื่องของชาวบ้าน เช่น พิธีทำขวัญนาค ดนตรีจะบรรเลงประกอบพิธีทำขวัญนาค ซึ่งสาระ
สำคัญจะอยู่ที่ตอนเริ่มพิธีและตอนเวียนเทียน
เมื่อเริ่มพิธีทำขวัญนาค หมอทำขวัญจะกล่าวคำอัญเชิญเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เมื่อกล่าวอัญเชิญเสร็จแล้วดนตรีจะบรรเลงเพลงสาธุการ ต่อจากนั้นหมอทำขวัญจะเริ่มทำการสอน
นาค ในช่วงนี้ดนตรีจะหยุดบรรเลง แต่ในระหว่างที่สอนนาค อาจจะมีการร้องเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น หรือ
ร้องแหล่ ซึ่งดนตรีก็จะบรรเลงประกอบให้ เมื่อสอนนาคเสร็จเรียบร้อยแล้ว


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น