วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การฟังเพลงไทย


การฟังเพลงไทย

วงดนตรีแต่ละอย่าง ย่อมมีวิธีบรรเลงและเสียงของเครื่องดนตรีต่างกัน จึงต้องรู้จักวง ดนตรีที่ฟังนั้นเสียก่อน วงปี่พาทย์ที่ตีด้วยไม้แข็ง ก็ย่อมมีเสียงแกร่งกร้าว มักบรรเลงค่อนข้างเร็ว และ โลดโผน วงปี่พาทย์ไม้นวม การบรรเลงก็จะต้องค่อนข้างช้า ไพเราะในทางนุ่มนวล วงมโหรีจะ ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนวงเครื่องสาย อาจมีได้ทั้งรุกเร้า รวดเร็ว และไพเราะนุ่มนวล เมื่อรู้เช่นนี้ ขณะฟังวงอะไรบรรเลงก็ฟังโดยทำใจให้เป็นไปตามลักษณะของวงชนิดนั้น
วงมโหรีโบราณ (เครื่องหก)
การฟังเพลง สิ่งสำคัญก็อยู่ที่ทำนอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงทุกๆ อย่างย่อมมีทำนองของตัว จะต้องฟังดูว่า เครื่องดนตรีทุกๆ อย่างนั้น ดำเนินทำนองสอดคล้องกลมเกลียวกันดีหรือไม่ และต่าง ทำถูกตามหน้าที่ (ดังที่กล่าวมาในเรื่องผสมวง) หรือไม่ เช่น ซออู้ทำหน้าที่หยอกล้อยั่วเย้าหรือเปล่า หรือ ฆ้องวงเล็ก ตีสอดแทรกทางเสียงสูงดีหรือไม่ เป็นต้น เมื่อสังเกตการบรรเลงอย่างนั้นแล้ว จึงทำอารมณ์ให้เป็นไปตามอารมณ์ของเพลง เพราะทำนองเพลงย่อมแสดงอารมณ์โศก รัก รื่นเริง หรือขับกล่อมให้เพลิดเพลิน เพลงอารมณ์โศก และรัก มักจะมีจังหวะช้าๆ และเสียงยาว เพลง รื่นเริง มักจะมีจังหวะค่อนข้างเร็ว และเสียงสั้น ส่วนเพลงขับกล่อม ก็มักจะเป็นพื้นๆ เรียบๆ สม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องสังเกตด้วยเสียงของทำนองที่มาสู่อารมณ์เราด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อฟัง เพลงในอารมณ์ใด ก็ตั้งใจฟังไปในอารมณ์นั้น ก็จะได้รสไพเราะจากการฟังได้อย่างแท้จริง

ลำดับเสียง

ลำดับเสียง

เสียงของเครื่องดนตรีที่จะบรรเลงเป็นทำนองนั้น จะต้องมีเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันหลายๆ เสียง โดยปกติก็มีอยู่ ๗ เสียง เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็ถือว่าเป็นเสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อๆ ไปตามลำดับ แต่ระยะความห่างจากเสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งนั้น ดนตรีของแต่ละ ชาติมักจะนิยมแบ่งระยะไม่เหมือนกัน ส่วนการแบ่งระยะเสียงเรียงลำดับของดนตรีไทยนั้น แบ่ง ความห่างของเสียงเท่าๆ กันทั้ง ๗ เสียง จากเสียงที่ ๑ ไปเสียงที่ ๒ จากเสียงที่ ๒ ไปเสียงที่ ๓ จาก ๓ ไป ๔ จาก ๔ ไป ๕ จาก ๕ ไป ๖ จาก ๖ ไป ๗ และ จาก ๗ ไป ๘ ทุกๆ ระยะ เท่ากันหมด ถ้าจะเปรียบเทียบกับมาตราเสียง (scale) ของดนตรีสากล ในบันไดเสียง C. major ซึ่ง เป็นบันไดเสียงที่ใช้อยู่เป็นสามัญ ก็จะเป็นรูปดังนี้

เพราะฉะนั้น ถ้าพบเห็นตัวอย่างต่างๆ ซึ่งบันทึกเป็นโน๊ตสากลในสารานุกรม ฯ นี้ขอให้เข้าใจว่า เป็นการลำดับมาตราเสียงอย่างไทย คือ ห่างเท่าๆ กันทุกระยะ ที่ใช้โน๊ตสากลก็เพียงโดยอนุโลมเท่านั้น

เสียงของเครื่องดนตรีไทยต่างๆ ที่ผสมเป็นวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี โดย เฉพาะเครื่องที่บรรเลงเป็นทำนอง มีเขตเสียงทางสูงและทางต่ำต่างๆ กัน ถ้าจะเทียบกับโน้ตสากล โดยอนุโลม ก็จะมีดังนี้

การผสมวง





การผสมวง

ผสมวง คือ การเอาเครื่องดนตรีหลายๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่อง ดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อมๆ กันนี้ จะต้องพิจารณาเลือกแต่สิ่งที่มีเสียงกลมกลืนกันและ ไม่ดังกลบเสียงกัน สมัยโบราณนั้นเครื่องดีดก็จะผสมแต่กับเครื่องสี เพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบา ด้วยกัน และเครื่องตีก็จะผสมแต่เฉพาะกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อนข้างดังมากด้วยกัน ภายหลังเมื่อรู้จักวิธีสร้างหรือแก้ไขเครื่องตีและเครื่องเป่าให้ลดความดังลงได้พอเสมอกับเครื่องดีด เครื่องสี จึงได้นำเครื่องตี และเครื่องเป่าเหล่านั้นบางอย่างเข้าผสมเฉพาะ แต่ที่ต้องการและจำเป็น และเลือกดูว่า เครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ได้หลายเสียง ก็ให้บรรเลงเป็นทำนอง อย่าง ไหนทำเสียงสูงต่ำหลายๆ เสียงไม่ได้ ก็ให้เป็นพวกบรรเลงประกอบจังหวะ
วงปี่พาทย์เครื่องคู่

ดนตรีพื้นบ้าน

ดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน
การละเล่นและการแสดงของไทย มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ และจำต้องมีควบคู่กันไปอย่างสม่ำ เสมอนั่นคือดนตรีประกอบทั้งนี้เพราะดนตรี จะช่วยเร่งเร้าและสร้าง บรรยากาศให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะ เป็นแบบสนุกสนานเร้าใจ เศร้าสร้อยเสียใจ หรือรื่นเริงบันเทิงอารมณ์   โดยการก่อของเสียงดนตรีอันไพเราะดังกล่าว ก็ต้องอาศัยเครื่องดนตรีมาช่วย บรรเลงให้ได้ตามจังหวะตามอารมณ์และความรู้สึกที่ เกิดขึ้น ซึ่งเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการบรรเลง ก็จะช่วยฉุดกระชากอารมณ์ และความรู้สึกให้คล้อยไป ตามบรรยากาศนั้น ๆ ได้ไม่ยาก ดนตรีพื้นบ้าน เป็นอีกสำเนียงเสียงที่ขับกล่อม และให้ความบันเทิงแก่ผู้คนมาแล้วนับร้อยนับพันปี ซึ่งการก่อเกิดของสำเนียงดังกล่าวก็เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน กับการก่อสร้างชุมชน จากเสียงร้องกล่อมเด็ก จนเป็นเสียงร้องในพิธีทางความเชื่อ ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีมาถึงการร้อง เพื่อความบันเทิง ดังนั้น ดนตรีพื้นบ้าน จึงเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งในการบ่งความเจริญของชนชาติหรือชุมชนนั้น ๆ ด้วย ซึ่งในแต่ละชุมชน จะมีดนตรีพื้นบ้านที่แตกต่างกันไป

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน

ประเภทของเพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้านแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับวิธีการจัดแบ่งดังนี้

แบ่งตามเขตพื้นที่ 
เป็นการแบ่งตามสถานที่ที่ปรากฏเพลง อาจแบ่งกว้างที่สุดเป็นภาค เช่น เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน เพลงพื้นบ้านภาคใต้ หรืออาจแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล เช่น เพลงพื้นบ้านตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพลงพื้นบ้านของอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 
แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมของผู้เป็นเจ้าของเพลง 
เป็นการแบ่งตามกลุ่มชนท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรม หรือเชื้อชาติต่างกัน เช่น เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทยโคราช เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเขมร-ส่วย เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว เพลงพื้นบ้านกลุ่มไทยมุสลิม
แบ่งตามโอกาสที่ร้อง 
กลุ่มหนึ่งเป็นเพลงที่ร้องตามฤดูกาลหรือเทศกาล เช่น เพลงที่ร้องในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงนา และเพลงที่ร้องในเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่ เพลงบอก เพลงร่อยพรรษา เพลงตร๊จ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเพลงที่ร้องได้ทั่วไปไม่จำกัดโอกาส เช่น ซอ หมอลำ เพลงโคราช เพลงลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว

แบ่งตามจุดประสงค์ในการร้อง 
เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เพลงปฏิพากย์ เพลงร้องรำพัน เพลงประกอบการละเล่นของผู้ใหญ่ และเพลงประกอบพิธีกรรม

แบ่งตามจำนวนผู้ร้อง 
เป็นเพลงร้องเดี่ยวและเพลงร้องหมู่ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงพาดควาย จ๊อย เป็นเพลงร้องเดี่ยว ส่วนเพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เป็นเพลงร้องหมู่ นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งประเภทเพลงพื้นบ้านแบบอื่นๆ เช่น ตามความสั้นยาวของเพลง แบ่งตามเพศของผู้ร้อง แบ่งตามวัยของผู้ร้อง ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพลงพื้นบ้าน โดยแบ่งตามเขตพื้นที่เป็นภาค ๔ ภาค คือ

๑.     เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
๒.    เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ
๓.    เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
๔.    เพลงพื้นบ้านภาคใต้

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

เพลงพื้นบ้านภาคกลางส่วนใหญ่เป็นเพลงโต้ตอบหรือเพลงปฏิพากย์ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน มักร้องกันเป็นกลุ่มหรือเป็นวง ประกอบด้วย ผู้ร้องนำเพลงฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เรียกว่า พ่อเพลง แม่เพลง ส่วนคนอื่นๆ เป็นลูกคู่ร้องรับ ให้จังหวะด้วยการปรบมือ หรือใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เช่น กรับ  ฉิ่ง เพลงโต้ตอบนี้ ชาวบ้านภาคกลางนำมาร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ตามเทศกาล หรือในเวลาที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางเพลงก็ใช้ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล แบ่งได้ ๕ กลุ่ม คือ

๑. เพลงที่นิยมร้องเล่นในฤดูน้ำหลาก เทศกาลกฐินและผ้าป่า ในช่วงเทศกาลออกพรรษา ได้แก่
  • เพลงเรือ (ร้องกันทั่วไปในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี)
  • เพลงครึ่งท่อน เพลงไก่ป่า (ปรากฏชื่อในหนังสือเก่าก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าร้องอยู่แถบพระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงหน้าใย เพลงยิ้มใย เพลงโซ้ (นครนายก)
  • เพลงรำพาข้าวสาร (ปทุมธานี)
  • เพลงร่อยภาษา (กาญจนบุรี)
๒. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลเก็บเกี่ยว เป็นเพลงที่ร้องเล่นในเวลาลงแขกเกี่ยวข้าว และนวดข้าว ได้แก่
  • เพลงเกี่ยวข้าว เพลงก้ม (อ่างทอง สุพรรณบุรี)
  • เพลงเต้นกำ (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงเต้นกำรำเคียว (นครสวรรค์)
  • เพลงจาก (อ. พนมทวน กาญจนบุรี)
  • เพลงสงฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี)
  • เพลงพานฟาง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี)
  • เพลงสงคอลำพวน (กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี)
  • เพลงชักกระดาน (กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สิงห์บุรี อ่างทอง)
  • เพลงโอก (ราชบุรี ใช้ร้องเล่นเวลาหยุดพักระหว่างนวดข้าว)
๓. เพลงที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และบางเพลงเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการละเล่นของหนุ่มสาว ได้แก่
  • เพลงพิษฐาน (พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก)
  • เพลงพวงมาลัย (นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นครสวรรค์)
  • เพลงระบำ เพลงระบำบ้านไร่ (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี)
  • เพลงฮินเลเล (พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก)
  • เพลงคล้องช้าง (สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม)
  • เพลงช้าเจ้าหงส์ (พระนครศรีอยุธยา)
  • เพลงช้าเจ้าโลม (นครสวรรค์ อุทัยธานี)
  • เพลงเหย่อย (กาญจนบุรี)
  • เพลงกรุ่น (อุทัยธานี  พิษณุโลก)
  • เพลงชักเย่อ (อุทัยธานี)
  • เพลงเข้าผี (เกือบทุกจังหวัดของภาคกลาง)
  • เพลงสังกรานต์ (เป็นเพลงใช้ร้องยั่วประกอบท่ารำ ไม่มีชื่อเรียกโดยตรง ในที่นี้ เรียกตามคำของยายทองหล่อ ทำเลทอง แม่เพลงอาวุโสชาวอยุธยา)
๔. เพลงที่ใช้ร้องเวลามารวมกันทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ได้แก่
  • เพลงโขลกแป้ง (ร้องโต้ตอบกันเวลาลงแขกโขลกแป้งทำขนมจีน ในงานทำบุญ ของชาวอ่างทอง ชาวนครสวรรค์)
  • เพลงแห่นาคหรือสั่งนาค (ร้องกันทั่วไปในภาคกลาง ในงานบวชนาคขณะแห่นาคไปวัดหรือรับไปทำขวัญนาค)
๕. เพลงที่ร้องเล่นไม่จำกัดเทศกาล เป็นเพลงที่ร้องเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในงานบุญประเพณีต่างๆ ร้องรำพันแสดงอารมณ์ความรู้สึก ร้องประกอบการละเล่น หรือร้องโดยที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
  • เพลงเทพทอง (เป็นเพลงพื้นบ้านที่เก่าที่สุด ตามหลักฐานในวรรณคดีและหนังสือเก่าบันทึกไว้ว่า นิยมเล่นตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง รัชกาลที่ ๖)
  • เพลงลำตัด
  • เพลงโนเนโนนาด
  • เพลงแอ่วเคล้าซอ
  • เพลงแห่เจ้าบ่าว
  • เพลงพาดควาย
  • เพลงปรบไก่
  • เพลงขอทาน
  • เพลงฉ่อย (มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เพลงวง เพลงเป๋ เพลงฉ่า เพลงตะขาบ)
  • เพลงทรงเครื่อง
  • เพลงระบำบ้านนา
  • เพลงอีแซว
  • เพลงรำโทน
  • เพลงสำหรับเด็ก (เพลงกล่อมเด็ก  เพลงปลอบเด็ก  เพลงประกอบการละเล่นเด็ก)





ดนตรีพื้นบ้าน

ดนตรีพื้นบ้าน
    
ดนตรีพื้นบ้าน เป็นการสร้างบทเพลง การขับร้อง การเล่นดนตรีของผู้คนในท้องถิ่นซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานก่อนสมัยสุโขทัย โดยเชื่อกันว่าดนตรีพื้นบ้าน เกิดขึ้นจากการที่คนเราสามารถรับรู้ และได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นต่าง ๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ แล้วคนเราก็นำเสียงที่ได้รับรู้มาประดิษฐ์ดัดแปลงให้เป็นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องดีด สี ตี เป่า
    
ลักษณะดนตรีพื้นบ้าน มีดังนี้
     1. 
เป็นการบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน และมีจำนวนน้อยชิ้น
     2. 
จังหวะทำนองเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
     3. 
เนื้อร้องเป็นภาษาพื้นบ้าน ไม่ยาวมาก
     4. 
ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษรุ่นต่อรุ่น
    
ดนตรีพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเฉพาะ มีความแตกต่างกันไป ตามสภาพวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
     1. 
ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
     2. 
ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
     3. 
ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
     4. 
ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้


ดนตรี ล้านนา

ดนตรีบำบัด

 ดนตรีบำบัดคืออะไร
 ดนตรีบำบัด( Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การดนตรี หรือองค์ประกอบอื่นๆ ทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม 
                   เป้าหมายของดนตรีบำบัด ไม่ได้เน้นทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด 

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
                   1. ปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงงบวก
                   2. กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)
                   3. เสริมสร้างสมาธิ ( Attention  Span)
                   4. พัฒนาทักษะทางสังคม (Social Skill)
                   5. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)
                   6. ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ( Behavior Modification)

กระบวนการและรูปแบบบำบัดดนตรี
                   1. การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา
                   2. วางแผนการบำบัดรักษา
                   3. ดำเนินการบำบัดรักษา
                   4. ประเมินผลการบำบัดรักษา

ประโยชน์ของดนตรี

 ประโยชน์ของดนตรี
ประโยชน์ทั่วไป
         1. เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะ ปลุกใจให้รื่นเริงกล้าหาญ สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิด แก่บุคคลผู้ฟังทั่วๆไป 
         2. เป็นเครื่องที่ทำให้โลกครึกครื้น 
         3. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นว่า โขนละคร ดนตรีก็เป็นผู้ประกอบให้น่าดูสนุกสนานขึ้นสมอารมณ์ผู้ดูและผู้แสดง 
         4. ทำความสมบูรณ์ให้แก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ 
         5. เป็นเครื่องประกอบในการสงคราม ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายชาติ กล่าวโดยเฉพาะชาติไทยคราวสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรีทรงรักษาเมืองพิษณุโลกต่อสู้ อะแซหวุ่นกี้ ก็ได้ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องประกอบอุบาย เป็นต้น 
         6. ทำให้โลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวัฒนธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเป็นที่ยกย่องของชาติทั้งหลาย
  ประโยชน์เฉพาะผู้บรรเลง
         1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ทั่วไปดังกล่าวมาแล้ว 
         2. เป็นอาชีพในทางที่ชอบอันหนึ่ง 
         3. เป็นผู้รักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ 
         4. จะเป็นผู้มีอารมณ์เยือกเย็น สุขุมกว่าปกติ 
         5. มีเครื่องกล่อมตนเองเมื่อยามทุกข์ ปลุกตนเองเมื่อยามเหงา 
         6. เป็นเครื่องฝึกสมองอยู่ในตัว 
         7. จะเป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียงปรากฏแก่โลก 
         8. ทำการสมาคมให้กว้างขวางได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึงชั้นสูงสุด